ยินดีตอนรับ blog kamonlada homniam ประวัติศาสตร์ ส 22102 ครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม ClickmeDesign


ครูเกษียณอายุราชการ2558
ข่าวสารทั่วไป
24โดย : admin
24/ส.ค./2558
2 stars ( 2 / 12 )
ประกาศผลการสอบวัดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ SPK SCIENCE TEST ครั้งที่ 4 ( 2384 / )
ประกาศผลสอบวัดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ SPK SCIENCE TEST ครั้งที่ 4 อ่านต่อ....
12โดย : admin
12/ส.ค./2558
3.5 stars ( 3.5 / 11 )
ค้นหารายชื่อนักเรียน ( 697 / )
ค้นหาชื่อนักเรียน อ่านต่อ....
ภาพกิจกรรมใหม่ล่าสุด
ข่าวการศึกษา
ข่าวครูบ้านนอก

กระดานถามตอบ


หัวข้อ (อ่าน/ตอบ)
โดย
วันที่
00004 : แนะแนวฟรี เทคนิคเรียนเก่งและสอบติวโควตา มข. (261/0)
BELL THEACT
1 ก.ย. 2558 : 00:18
00003 : จากผู้พัฒนาเว็บไซต์ รูปภาพ (320/0)
admin
23 ก.ค. 2558 : 16:11

ข่าว

วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 22 ลักษณะทางเศรษฐกิจไทยสมัยรัตนโกสินทร์ยุคปฏิรูปบ้านเมือง(รัชกาลที่ 4-7)


ลักษณะทางเศรษฐกิจไทยสมัยรัตนโกสินทร์ยุคปฏิรูปบ้านเมือง(รัชกาลที่ 4-7)


ลักษณะ ทางเศรษฐกิจไทยสมัยสภาพเศรษฐกิจในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยรัชกาลที่ 4 นั้น พระราชกรณียกิจทางการบริหารประเทศอันดับแรกที่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงกระทำเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างประเทศ คือ การลดภาษีสินค้าขาเข้า การอนุญาตให้ส่งข้าวเป็นสินค้าออกได้ และการค้าฝิ่นโดยผ่านระบบเจ้าภาษี การทำสนธิสัญญาเบาว์ริงกับอังกฤษ หลังทำสนธิสัญญาเบาว์ริงแล้ว ระบบเศรษฐกิจของไทยเริ่มเปลี่ยนแปลงจากเศรษฐกิจแบบยังชีพไปสู่เศรษฐกิจแบบ เงินตรากับนานาประเทศ การค้าขายขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางโดยใช้เงินตราเป็นตัวกลางในการแลก เปลี่ยน สาระสำคัญของสัญญาเบาว์ริงทางเศรษฐกิจ 

1. คนในบังคับอังกฤษหรือชาติต่างๆ ทำการค้าได้โดยเสรี 

2.ยกเลิกภาษีเบิกร่องหรือค่าปากเรือ โดยให้เก็บภาษีขาเข้าร้อยละ 3 แทน อนุญาตให้    นำฝิ่นเข้ามาโดยไม่ต้องเสียภาษี แต่จะต้องขายให้กับผู้ผูกขาดการค้าฝิ่นในเมืองไทยเท่านั้น 

3.ไทยอนุญาตให้ส่งข้าวเป็นสินค้าออกได้ ยกเว้นในปีที่ทำนาไม่ได้ผล 

4.สินค้าออกให้เก็บเป็นภาษี " ขาออกอย่างเดียว 

5.ให้ ไทยตั้งโรงภาษีหรือศุลกากร เพื่อทำการตรวจสินค้าต่างๆ ที่นำขึ้นมาจากเรือ และลงเรือเพื่อเก็บภาษีขาเข้าหรือขาออกแล้วแต่กรณีสนธิสัญญาเบาว์ริงก่อให้ เกิดการเปลี่ยนแปลง ทางเศรษฐกิจของไทยอยู่หลายประการ คือ 

1.การเปลี่ยนแปลงระบบการค้า ไทยยกเลิกวิธีการค้าแบบพระคลังสินค้าให้มีการค้าอย่างเสรี 

2.การเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจ การผลิตหลังจากที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจของไทยเปลี่ยนจากเศรษฐกิจแบบเลี้ยงตนเอง เป็นระบบเศรษฐกิจเพื่อการค้า 

3.การเปลี่ยนแปลงด้านภาษีอากร ไทยต้องยกเลิกการค้าแบบผูกขาด 

4.การขยายตัวทางเศรษฐกิจอื่นๆ มีบริษัทและร้านค้าที่ชาวต่างชาติขอเปิดขึ้น มากมายในกรุงเทพฯ เช่น บริษัท บอร์เนียว จำกัด  บริษัท เรมีเดอมองตินยี จำกัด  หรือโรงแรมสมัยใหม่ เช่น โฮเตลฟอลด์ เป็นต้น 

5.การพัฒนาประเทศเพื่อรองรับความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ ได้แก่      

5.1 การตัดถนน ถนนสายแรกคือ ถนนเจริญกรุง ฝรั่งเรียกว่า นิวโรด (New Road)ต่อมา ได้ตัดถนนเพิ่มขึ้นอีกหลายสาย เช่น ถนนบำรุงเมือง ถนนเฟื้องนคร ถนนพระรามที่ 4  นนสีลม      

5.2 การขุดคลอง พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองผดุงเกษม เพื่อใช้เป็นแนว ป้องกันพระนครชั้นนอกและเพื่อสะดวกในการคมนาคม คลองมหาสวัสดิ์ คลองเจดีย์บูชา คลองดำเนินสะดวก เพื่อสะดวกในการคมนาคม  ขนส่งสินค้าระหว่างกรุงเทพฯกับหัวเมืองใกล้เคียง การปฏิรูปเงินตราสมัยรัชกาลที่ 4 สมัยรัชกาลที่ 4 ระบบการค้าเริ่มขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้ระบบเศรษฐกิจแบบ เงินตรามีความสำคัญมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากการขาดแคลนเงินตราในการซื้อขาย แลกเปลี่ยน เงินตราที่ใช้อยู่ทั่วไปคือ เบี้ย ซึ่งเป็นหอยชนิดหนึ่งได้มาจากหมู่เกาะมาลดีบในมหาสมุทรอินเดีย แต่อัตราแลกเปลี่ยนเบี้ยในท้องตลาดไม่ค่อยจะคงตัว โดยปกติจะอยู่ราว 800 เบี้ย ต่อ 1 เฟื้อง นอกจากนี้ก็มีการใช้เงินพดด้วง เป็นลักษณะก้องกลมมีตราประทับบนตัวด้วง เงินตราทั้ง 2ชนิดไม่เหมาะกับการค้าสมัยใหม่เพราะ เบี้ยแตกง่าย เงินพดด้วงก็ปลอมได้ง่ายและผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการครั้งเมื่อพ่อ ค้าต่างชาตินำเงิน เหรียญสเปน หรือเหรียญเม็กซิโกเข้ามาใช้ ก็ไม่มีใครยอมรับ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการค้าขายมากขึ้น เพื่อแก้ปัญหานี้ชาวต่างประเทศถึงกับแนะนำให้รัฐบาลไทยเลิกใช้ เงินบาท โดยพ่อค้าเหล่านั้นจะผลิตเงินบาทเข้ามาใช้เอง แต่รัชกาลที่ 4 ไม่ทรงเห็นด้วยเพราะจะเป็นโอกาสให้มีเหรียญปลอมระบาดมากขึ้น การแก้ปัญหาของรัชกาลที่ 4 ในเรื่องนี้ คือมีพระราชดำริที่จะเลิกใช้เงินพดด้วงซึ่ง ทำด้วยมือซึ่งผลิตได้ช้าไม่ทันการมาใช้เงินเหรียญที่ผลิตจากเครื่องจักรแทน โดยซื้อเครื่องจักรมาจากต่างประเทศ เริ่มมีการผลิตเงินเหรียญเป็นครั้งแรกในปีพ.ศ.2403 และตั้งแต่นั้นมามีการผลิตเงินเหรียญในชนิดและอัตราต่างๆออกมา ในปีพ.ศ.2405 โปรดเกล้าฯให้ผลิตเหรียญดีบุกขึ้น2 ชนิด คือ อัฐมีราคา 8 อันต่อ 1 เฟื้อง  และโสฬส  มีราคา 16 อันต่อ 1 เฟื้อง ปีพ.ศ.2406  โปรดเกล้าฯให้มีการผลิตเหรียญทองมีอัตราต่างกันตามลำดับ ดังนี้ คือ ทศราคาอันละ 8 บาท  พิศราคาอันละ 4  บาทและพัดดึงส์ราคาอันละ 10  สลึง ปี พ.ศ.2408 โปรดเกล้าฯให้ผลิตเหรียญทองแดง 2 ชนิดคือ  ซีกมีราคา 2 อันต่อ 1 เฟื้อง และเซี่ยว(ปัจจุบันเรียก เสี้ยว) มีราคา 4 อันต่อ 1 เฟื้อง โดยการเปลี่ยนแปลงนี้ รัชกาลที่4 โปรดเกล้าฯให้มีประกาศแจ้งให้ราษฎรได้ทราบ และชักชวนให้ราษฎรมาใช้เงินเหรียญชนิดต่างๆที่ผลิตขึ้น นอกจากเงินเหรียญชนิดต่างๆ แล้วรัฐยังได้พิมพ์ธนบัตรที่เป็นกระดาษคล้ายกับ ปัจจุบันด้วยสมัยนั้น เรียกว่า “หมาย”มีราคาตั้งแต่เฟื้อง จนถึง 1 บาท ผู้ที่เป็นเจ้าของหมายจะได้รับเงินก็ต่อเมื่อนำหมายดังกล่าวนั้นไปขึ้นเงิน ที่พระคลังมหาสมบัติ แต่ราษฎรไม่เห็นประโยชน์จากการใช้กระดาษเป็นเครื่องแลกเปลี่ยน การใช้หมายดังกล่าวจึงไม่แพร่หลาย การตั้งโรงงานกระษาปณ์เพื่อผลิตเหรียญตรา ในปีพ.ศ.2403 ในขั้นแรกเป็นวิธีการ ที่รัฐพยายามที่จะ แก้ปัญหาทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น แต่ผลที่ตามมานอกเหนือจากนั้น ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบเงินตรา ซึ่งถือได้ว่าเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจและการค้า เพราะการซื้อขายแลกเปลี่ยนด้วยเงินตราในระบบใหม่ที่สะดวกกว่าระบบเก่า ย่อมจะทำให้การค้าระหว่างประเทศขยายตัว ปริมาณการหมุนเวียนของสินค้ามีมากขึ้นตามไปด้วย การปรับปรุงเศรษฐกิจในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูปเศรษฐกิจ ดังนี้ 

1.การ ปฏิรูปด้านการคลัง รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ขึ้น ในปี พ.ศ.2416 ในพระบรมมหาราชวัง ทำหน้าที่รับผิดชอบรวบรวมเงินภาษีอากรทุกชนิดนำส่งพระคลังมหาสมบัติ ทำบัญชีรวบรวมผลประโยชน์ ตรวจตราการเก็บภาษีอากรของหน่วยราชการต่างๆ ให้เรียบร้อยรัดกุม รับผิดชอบการจ่ายเงินเดือนในอัตราที่แน่นอนให้กับข้าราชการฝ่ายพลเรือนและ ทหาร เฉพาะในส่วนกลางแทนการจ่าย เบี้ยหวัดและเงินปี                                       

2. การ ปฏิรูประบบเงินตรา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิรูประบบเงินตรา  ดังนี้       2.1การประกาศกำหนดมาตราเงินใหม่ ให้มีเพียง 2 หน่วย คือ บาทกับสตางค์ สตางค์ที่ออกมาใช้ ครั้งแรก มี 4 ขนาด คือ 20 , 10 , 5 และ 2 สตางค์ครึ่ง และประกาศยกเลิกใช้เงินพดด้วง      

2.2 การออกธนบัตร ประกาศใช้พระราชบัญญัติธนบัตร จัดตั้งกรมธนบัตรขึ้นเพื่อทำหน้าที่ออก ธนบัตรให้ได้มาตรฐาน ธนบัตรนั้นเดิมประกาศใช้มา   ตั้งแต่รัชกาลที่ 4 แล้ว      

2.3เปรียบ เทียบค่าเงินไทยกับมาตรฐานทองคำ ในพ.ศ.2451 ประกาศใช้พระราชบัญญัติมาตรฐานทองคำ กำหนดอัตราแลกเปลี่ยน 13 บาท เท่ากับ 1 ปอนด์ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสากล 

3.การ ตั้งธนาคาร มีบุคคลคณะหนึ่งร่วมมือก่อตั้งธนาคารของไทยแห่งแรกเรียกว่า บุคคลัภย์ (Book Club) ได้รับพระราชทางพระบรมราชานุญาตจัดตั้งธนาคาร จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายเรียกชื่อว่า แบงค์สยามกัมมาจล   (Siam Commercial Bank) ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด 4.การทำงบประมาณแผ่นดิน ในพ.ศ.2439 รัชกาลที่ 5 โปรดให้มีการจัดทำงบประมาณแผ่นดินขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อให้การรับจ่ายของแผ่นดินมีความรัดกุม โปรดให้แยกเงินส่วนแผ่นดินและส่วนพระองค์ออกจากกันอย่างเด็ดขาด โดยให้ พระคลังข้างที่ เป็นผู้ดูแลพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ 

5.การ ปรับปรุงทางด้านการเกษตรและการชลประทาน มีการขุดคลองเก่าบางแห่งและขุดคลอง ใหม ่อีกหลายแห่ง เช่น คลองนครเนื่องเขต คลองดำเนินสะดวก คลองประเวศน์บุรีรัมย์ คลองเปรมประชา คลองทวีวัฒนา สร้างประตูระบายน้ำ เพื่อช่วยส่งน้ำให้เข้าถึงพื้นที่ที่ทำการเพาะปลูกได้ ด้านการป่าไม้ โปรดให้ตั้ง  กรมป่าไม้ ส่งเสริมให้ปลูกสวนสัก และส่งนักเรียนไทยไปศึกษาวิชาป่าไม้  ณ  ต่างประเทศ 

6.การ พัฒนาทาด้านคมนาคม การสื่อสาร ได้มีการสร้างถนนขึ้นหลายสาย คือ ถนนเยาวราช ถนนราช   ดำเนินกลาง ถนนราชดำเนินนอก ถนนบูรพา ถนนอุณากรรณ ถนนดินสอ ส่วนสะพานข้ามคลองที่เชื่อมถนนต่างๆ ก็มี สะพานผ่านพิภพลีลา สะพานผ่านฟ้าลีลาศ สะพานมัฆวานรังสรรค์   สะพานเทวกรรมรังรักษ์ ในด้านการสื่อสาร ได้ทรงตั้งกรมไปรษณีย์ขึ้นเป็นครั้งแรก พ.ศ.2426  ในพ.ศ.2418 เปิดบริการโทรเลขสายแรกระหว่างกรุงเทพฯ – สมุทรปราการ ด้านการสร้างทางรถไฟ มีการสร้างทางรถไฟเชื่อมระหว่างกรุงเทพฯ กับหัวเมือง ใน ส่วนภูมิภาค ได้แก่ ทางรถไฟสายกรุงเทพฯ – นครราชสีมา  ทางรถไฟสายใต้ ทางรถไฟสายกรุงเทพฯ – สมุทรปราการ  กรุงเทพฯ – พระพุทธบาท กรุงเทพฯ–มหาชัย–ท่าจีน– แม่กลอง สายบางพระแบะสายแปดริ้ว ฯลฯ การปรังปรุงเศรษฐกิจในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการปฏิรูปเศรษฐกิจต่อเนื่องมาจากสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งสรุปได้ดังนี้ 

1.การ สนับสนุนการลงทุนธุรกิจอุตสาหกรรม ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุน การลงทุนจัดตั้งบริษัททำปูนซีเมนต์ สนับสนุนกิจการโรงไฟฟ้าสามเสน ให้ความช่วยเหลือสนับสนุนการจัดตั้งบริษัทพาณิชยนาวีสยาม 

2.การ ส่งเสริมทางด้านการเกษตร เช่น จัดตั้งกรมทดน้ำเพื่อจัดหาน้ำไว้ใช้ใน การเพาะปลูก ส่งเสริมการขุดลอกคูคลอง จัดตั้งสถานีทดลองพันธ์ข้าวที่ คลองหกรังสิต  จัดตั้งสหกรณ์การเกษตรแห่งแรก  ชื่อ  สหกรณ์วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้   ที่อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 

3.การ จัดตั้งสถาบันการเงิน ได้มีการตั้งธนาคารออมสินขึ้น เพื่อรับฝากเงินของราษฎรและ มีที่เก็บเงินโดยปลอดภัย และเพื่อประโยชน์ในการหมุนเวียนเงินตรา 

4.การเปลี่ยนแปลงมาตราชั่ง ตวง วัด โปรดให้ประกาศใช้มาตราชั่ง ตวง วัด ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันแบบสากลโดยใช้ระบบของฝรั่งเศส 

5.การ ปรับปรุงงานด้านการคมนาคมการขยายงานด้านรถไฟ โปรดให้ตั้งกรมรถไฟหลวงขึ้น และได้สร้าง - เส้นทางรถไฟสายเหนือถึงเชียงใหม่ สายตะวันออกเฉียงเหนือถึงอุบลราชธานีและขอนแก่น สายตะวันออกถึงอรัญประเทศ และสายใต้ถึง  ปาดังเบซาร์ โดยเปิดสถานีหัวลำโพง สร้างสะพานพระราม 6 เพื่อเชื่อม ทางรถไฟสายเหนือและสายใต้เข้าด้วยกัน สร้างทางรถไฟสายแรกระหว่างกรุงเทพฯ-นครราชสีมา เปิดเดินรถไฟเส้นทางระยะแรกระหว่าง กรุงเทพฯ-อยุธยา -ด้านวิทยุโทรเลข โปรดให้กระทรวงทหารเรือ จัดตั้งสถานีวิทยุโทรเลขขึ้นที่ตำบลศาลาแดง กรุงเทพฯ และที่สงขลา -การวางรากฐานการคมนาคมทางอากาศ จัดตั้งกรมอากาศยานขึ้น และมีการบินขั้นทดลองครั้งแรก สร้างสนามบินดอนเมือง 

6.การ จัดตั้งกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ กรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์  ขึ้นอยู่กับกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ต่อมายกฐานะเป็นกระทรวงพาณิชย์ 

7.การ ยกเลิกหวย ก รัชกาลที่ 6 โปรดให้ประกาศยกเลิก หวย ก.ข. การปรับปรุงเศรษฐกิจในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พ เศรษฐกิจตกต่ำในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ ใน พ.ศ.2468 ปัญหาแรกที่ต้องทรงแก้ไขอย่างรีบด่วน คือ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ จึงมีการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ คือ ทรงวางระเบียบการใช้จ่ายเงินภายในพระราชสำนักเป็นอันดับแรก ตัดทอนรายจ่ายฝ่ายราชการลงด้วยการลดจำนวนข้าราชการบริพารในกระทรวงวัง โดยเฉพาะ ในกรมมหาดเล็ก เพื่อให้เป็นตัวอย่างแก่หน่วยราชการต่างๆ มีการดุลยภาพข้าราชการก่อนกำหนด โดยให้รับเบี้ยหวัดเบี้ยบำนาญแทน

สัปดาห์ที่ 21 ลักษณะทางเศรษฐกิจไทยสมัยรัตนโกสินทร์หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง


ลักษณะทางเศรษฐกิจไทยสมัยรัตนโกสินทร์หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง


ลักษณะ ทางเศรษฐกิจไทยสมัยรัตนโกสินทร์หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ลักษณะทางเศรษฐกิจไทยสมัยรัตนโกสินทร์หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง การสร้างและพัฒนาชาติด้านเศรษฐกิจ ในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 คณะราษฎรได้กำหนดนโยบายด้านเศรษฐกิจปรากฏในหลัก 6 ประการ โดยขั้นแรกรัฐมอบหมายให้ หลวงประดิษฐ์ มนูธรรม ซึ่งมีใจความสำคัญว่า 
1.รัฐบาลจะบังคับซื้อที่ดินทางกสิกรรมของราษฎรทั้งหมดโดยจ่ายเงินเป็นพันธบัตรรัฐบาล 
2.รัฐจะจัดการเศรษฐกิจทั้งหมดในรูปของระบบสหกรณ์ 
3.บุคคล ที่มีอายุระหว่าง 18-55 ปีจะเป็นข้าราชการทำงานให้รัฐตามความสามารถและ  คุณวุฒิของตน โดยได้รับเงินเดือนจากรัฐบาลหรือสหกรณ์ตามที่กำหนดซึ่ง เค้าโครงเศรษฐกิจดังกล่าวไม่เป็นที่ยอมรับของคนทั่วไปรวมทั้งพระบาทสมเด็จ พระปกเกล้า เจ้าอยู่หัว เพราะเป็นนโยบายของระบอบคอมมิวนิสต์จึงล้มเลิกไปในที่สุด ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 
1.ภาวะ เศรษฐกิจตกต่ำเริ่มก่อตัวช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 6 เพราะใช้เงินในการปรับปรุง หน่วยราชการและบำรุงศิลปวัฒนธรรมจำนวนมาก      และมีรายรับลดลงเพราะเกิดปัญหาขัดแย้งในยุโรปจนนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 
2.สมัย รัชกาลที่ 7 เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวเพราะสินค้าไทยขายไม่ได้ เพราะต่างชาติไม่มี การสั่งซื้อ 3.สมัยรัชกาลที่ 7 เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เกิดภาวะเงินเฟ้อทั่วโลก ซึ่งกระทบถึง ประเทศไทยด้วย การแก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำของรัชกาลที่ 7  
1.ยุบเลิกหน่วยราชการ 
2.ปลดข้าราชการออกบางส่วน
3.ยอม ลดรายจ่ายประจำปีของพระองค์ จาก 9 ล้าน เหลือ 6 ล้าน และ 3 ล้านบาทในที่สุดแต่ ไม่สามารถแก้ปัญหาได้เพราะประเทศไทยขาดแคลนผู้ชำนาญการทางเศรษฐกิจและไม่มี แผนพัฒนาเศรษฐกิจ   “ความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำของรัชกาลที่ 7 เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่คณะราษฎรอ้างเป็นสาเหตุในการปฏิวัติเมื่อปีพ.ศ.2475” เศรษฐกิจไทยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง หลังการเปลี่ยนแปลงปกครอง พ.ศ.2475 เศรษฐกิจไทยเริ่มกระเตื้องขึ้น สมัยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ( ป. พิบูลสงคราม) เป็นนายกรัฐมนตรี มีนโยบาย  สร้างชาติทางเศรษฐกิจ โดย 
1.กระตุ้นให้ประชาชนช่วยตัวเองในทางเศรษฐกิจ เช่น ทำสวนครัว เลี้ยงสัตว์ ทำอุตสาหกรรมในครัวเรือน 
2.โฆษณาคำขวัญ “ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ” เพื่อกระตุ้นให้คนไทยใช้สินค้าไทยและตื่นตัวในเรื่องชาตินิยม 
3.เริ่มใช้นโยบาย รัฐวิสาหกิจ ตั้งโรงงานอุตสาหกรรม จำนวนมากมาย 
4.สงวนอาชีพบางอย่างให้คนไทย เช่น ตัดผม 
5.ตั้ง กระทรวงอุตสาหกรรม และตั้งพระราชบัญญัติคุ้มครองอุตสาหกรรมในประเทศ เศรษฐกิจไทยระหว่างสงครามโลกครั้งที่  ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ไทยประสบความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจอย่างหนักเพราะ 1.การขนส่งหยุดชะงัก ทำให้ขาดแคลนสินค้า ยารักษาโรค น้ำมัน และสินค้า ไทยขายไม่ได้ 2.ญี่ปุ่นบังคับให้ไทยขายสินค้าให้ในราคาถูก ลดค่าเงินบาท 1 บาทเท่ากับ 1 เยน    ญี่ปุ่นพิมพ์ธนบัตรไทยเอง นำมาใช้ในประเทศไทย ทำให้ไทยเกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง 
3.ไทย เกิดน้ำท่วมอย่างหนัก ในเขตที่ราบภาคกลางทั้งหมด เศรษฐกิจไทยหลังสงครามโลกครั้งที่ -ไทยประสบปัญหาทางเศรษฐกิจหลายอย่าง -รัฐบาลแก้ปัญหาโดยจัดทำโครงการชลประทานเจ้าพระยาใหญ่ (วางแผนไว้ในสมัยรัชกาลที่ 5) โดยกู้เงินจากธนาคารโลกในปี พ.ศ.2493 นำมาสร้างเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท สร้างเสร็จในปี พ.ศ.2500 สามารถส่งน้ำช่วยเหลือการเกษตรในพื้นที่ภาคกลาง - ในปีพ.ศ.2504 กู้เงินจากธนาคารโลก เพื่อนำมาสร้างเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก สร้างเสร็จในปีพ.ศ.2507 สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ในภาคกลางและภาคเหนือรวม 36 จังหวัดและส่งน้ำไปใช้ในการเกษตร เศรษฐกิจไทยภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ -ประเทศไทยเริ่มมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ครั้งแรกในปีพ.ศ.2504   เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นระบบ -แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ช่วงแรก มุ่งเน้นสร้างโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค  ได้แก่ ทางหลวง ไฟฟ้า การชลประทาน การสื่อสาร โทรคมนาคม -ส่งเสริมการผลิตพืชไร่ ที่สำคัญได้แก่ มันสำปะหลัง ข้าวโพด ปอ อ้อย ฯลฯ -เกษตรกรเริ่มหันมาใช้เครื่องทุ่นแรง เช่น รถแทรกเตอร์ รถไถเดินตาม เครื่องสูบน้ำ   ปุ๋ยเคมี เมล็ดพันธุ์ใหม่ๆ -มีอุตสาหกรรมเกิดใหม่หลายอย่าง เช่น สิ่งทอ ผลไม้กระป๋อง เครื่องใช้ไฟฟ้า   การท่องเที่ยว ผลิตภัณฑ์ห้องเย็น -มีนโยบายลดการลงทุนด้านรัฐวิสาหกิจ โดยขายให้เอกชนดำเนินการเพราะรัฐทำแล้ว   ขาดทุนเนื่องมาจากการฉ้อราษฎรบังหลวง ปัจจุบันเหลือเพียง   
1.ไฟฟ้า  
2.ประปา  
3.โทรศัพท์  
4.รถเมล์(ในกรุงเทพฯ)  
5.รถไฟ  
6.การบิน  
7.ยาสูบ  
8.สลาก กินแบ่ง -ส่งเสริมให้เอกชนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนในประเทศไทย  โดยสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุนทุกอย่าง ซึ่งประสบความสำเร็จด้วยดี  มีต่างประเทศมาลงทุนในไทยมากมาย เช่น ญี่ปุ่น  ฮ่องกง  ไต้หวัน  ยุโรป  อเมริกา  เศรษฐกิจไทยภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ -หลังจากใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ มาได้ 15 ปี (ฉบับที่ 1-3) ความเจริญกระจุกอยู่ที่   ส่วนกลาง ทำให้ชาวชนบทอพยพเข้าสู่เมือง ทำให้เกิดปัญหาประชากรหนาแน่น แหล่ง เสื่อมโทรม ในกรุงเทพ  ทำให้เกิดปัญหามากมาย แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4-5 จึงเน้นการกระจายรายได้ออกสู่ชนบท โดยขยาย อุตสาหกรรมและโครงการใหญ่ๆ สู่ภูมิภาค -หลังจากประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ มาได้ประมาณ 20 ปี มูลค่าส่งออกของไทยเพิ่มขึ้นถึง 15 เท่าตัว   สินค้าใหม่ๆ ที่ทำรายได้สูง ได้แก่ สิ่งทอ อัญมณี  แผงวงจรไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์ประมงแช่แข็ง ไก่แช่แข็ง   และรายได้จากการท่องเที่ยวซึ่งได้รับความนิยมสูงมาก ทำรายได้สูง- -ในปี พ.ศ.2524 ไทยมีการขุดพบหลุมก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย ได้มีการเร่งรัดพัฒนาประเทศเพื่อเข้าสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (นิกส์) โดยส่งเสริม -โครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก (Eastern Seaboard) สมัยรัฐบาลพลเอกเปรม  ติณสูลานนท์  มุ่งเน้นให้เป็นอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก กำหนดให้ เขตมาบตาพุด จังหวัดระยอง เป็นแหล่งอุตสาหกรรมสำคัญ เช่น โรงงานแยกก๊าซ ปิโตรเคมี ปุ๋ยเคมี กำหนดให้แหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี เป็นที่ตั้งท่าเรือพาณิชย์และอุตสาหกรรม ขนาดกลางและย่อม เพื่อการส่งออก และมีหลายโครงการดำเนินเสร็จแล้วและมี โรงงาน อุตสาหกรรมเกิดขึ้นมากมาย -หลังจากเหตุการณ์อุทกภัยครั้งร้ายแรง ปีพ.ศ.2531 (ไต้ฝุ่นเกย์) พลเอกชาติชาย  (Southern Seaboard) เพื่อพัฒนาทรัพยากร เช่น ยางพารา กาแฟ มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน ดีบุก   ก๊าซธรรมชาติและอุตสาหกรรมประเภทซ่อมเรือ ต่อเรือ ประมง การขนส่งเชื่อม ฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย   การบริหารประเทศในยุคต่อๆมาจนถึงปัจจุบันต่างก็ยึดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติเป็นหลัก จนถึงปัจจุบัน มีการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549) -เศรษฐกิจแบบฟองสบู่ เป็นนายกรัฐมนตรีเป็นลักษณะที่ดูเหมือนเศรษฐกิจในประเทศขยายตัว แต่ไทยก็เป็นหนี้ต่างประเทศจำนวนมาก  ประชาชนใช้จ่ายเงินอย่างฟุ่มเฟือย  ผลเสียหายร้ายแรงของเศรษฐกิจแบบฟองสบู่ 
1.ค่าของเงินบาทเริ่มตกต่ำ แต่รัฐก็พยายามรักษาค่าเงินบาทสูงกว่าความเป็นจริง 
2.สมัยพลเอกเชาวลิต ยงใจยุทธ” ประชาชนเรียกร้องให้ พลเอกเชาวลิต ยงใจยุทธ ลาออก 
3.หลัง จากพลเอกเชาวลิต ยงใจยุทธ ลาออก นายชวน  หลีกภัย เข้ามารับหน้าที่แทน สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ในระดับหนึ่ง แต่ไทยก็ยังเป็นหนี้ IMF และใช้หนี้ ต่อไปในปีพ.ศ.2542 เศรษฐกิจไทยเริ่มกระเตื้องขึ้นเล็กน้อย 
4.ยุค ของรัฐบาลที่นำโดย พรรคไทยรักไทย มีนายกรัฐมนตรี คือ ดร.ทักษิณ ชินวัตร สามารถแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ ในหลายด้าน จนภาวะเศรษฐกิจไทยดีขึ้น มีการลงทุนจากต่างประเทศจำนวนมาก และที่สำคัญชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรดีขึ้น เพราะรัฐบาลนี้เห็นความสำคัญของคนจน และสามารถใช้หนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้สำเร็จในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2546 ซึ่งถือเป็นผลงานสำคัญของรัฐบาลชุดนี้ 5.ปัจจุบันเป็นยุคของรัฐบาลที่นำโดยพรรคประชาธิปัตย์ มีนายกรัฐมนตรี คือ นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ เป็นยุคที่ค่าเงินบาทแข็งค่า  ปัจจุบันเกิดปัญหาราคาสินค้าอุปโภค บริโภค ขึ้นราคา   ทำให้เกิดผลกระทบกับการดำรงชีวิตของประชาชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันปาล์ม

สัปดาห์ที่ 20 สังคมวัฒนธรรมไทย สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น


สังคมวัฒนธรรมไทย สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น


สังคม วัฒนธรรมไทย  สภาพสังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น สภาพสังคมไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีลักษณะโครงสร้างไม่แตกต่างจากสมัยอยุธยาและธนบุรี ลักษณะโครงสร้างของสังคมไทยสมัยนี้  มีการแบ่งชนชั้น ถึงแม้จะไม่มีการแบ่งวรรณะอย่างอินเดีย แต่ฐานะความเป็นอยู่ของผู้คนก็แตกต่างกัน องค์ประกอบของสังคมไทยแบ่งเป็น 4 ชนชั้น      
1. เจ้านาย ได้แก่ พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ พระมหากษัตริย์ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีลักษณะเป็นทั้งเทวราชาและธรรมราชา                
2. ขุนนางและข้าราชการ                     
3. ไพร่ เป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศ ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก แบ่งเป็น ไพร่หลวง และไพร่สม            
4. ทาส ชนชั้นต่ำสุดในสังคมไทย ไม่มีอิสระในการดำเนินชีวิต ชีวิตขึ้นอยู่กับนายทาส แบ่งเป็น ทาสเชลย  ทาสในเรือนเบี้ย  ทาสสินไถ่  ทาสได้มาแต่บิดามารดา  ทาสที่เลี้ยงไว้เมื่อเกิดทุพภิกขภัย  ทาสที่ช่วยมาจากทัณฑ์โทษ และทาสท่านให้  ทาสที่ทำความดีความชอบต่อบ้านเมืองสามารถเลื่อนฐานะตนเองสูงขึ้นเป็นขุนนาง ได้ ส่วนขุนนางที่ทำผิดก็สามารถลดฐานะลงเป็นทาสได้เช่นกัน        

สัปดาห์ที่ 19 สังคมวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ยุคหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สังคมวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ยุคหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สังคมวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ยุคหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง การพัฒนาขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 มีการเปลี่ยนแปลงที่เด่นชัดในเรื่องการแต่งกาย ผู้ชายเริ่มแต่งกายแบบสากล คือสวมเสื้อนอกกระดุมห้าเม็ด กางเกงขายาวแบบสากล รองเท้าหุ้มส้นและสวมถุงเท้า ยกเลิกการนุ่งผ้าม่วงโจงกระเบนและเสื้อราชปะแตน นโยบายสร้างชาติทางวัฒนธรรมของจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของไทยหลายประการ คือ 1. การเปลี่ยนชื่อประเทศจาก “สยาม” เป็น “ประเทศไทย” ในปี พ.ศ.2482 2. ใช้คำว่า “ไทย” กับคนไทย และสัญชาติไทย 3. กำหนดให้วันที่ 24 มิถุนายน ซึ่งตรงกับวันเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็น “วันชาติไทย” เริ่มในปีพ.ศ.2482 4. เปลี่ยนเนื้อร้องเพลงชาติและเพลงสรรเสริญพระบารมี ไม่ให้มีคำว่า สยาม 5. ให้ยืนตรงเคารพธงชาติพร้อมกันทั่วประเทศ ในเวลา 08.00 น. เชิญธงชาติขึ้น และเวลา 18.00 น. ชักธงชาติลง 6. เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จาก “1 เมษายน” ตามแบบสากล เริ่ม พ.ศ.2484 7. การแต่งกาย ข้าราชการให้แต่งเครื่องแบบราษฎรทั่วไป ผู้ชาย ให้สวมเสื้อนอกคอเปิดหรือปิด นุ่งกางเกงขายาว สวมหมวกปีกสวมถุงเท้า รองเท้า ผู้หญิง สวมเสื้อนอกคุมไหล่ นุ่งผ้าถุง ห้ามนุ่งโจงกระเบน การแต่งกายไว้ทุกข์ในงานศพ ผู้ชาย ใช้เสื้อขาว กางเกงขายาวขาว ผ้าผูกคอสีดำ สวมปลอกแขนสีดำ ที่แขนเสื้อด้านซ้าย สวมรองเท้าดำ ถุงเท้าดำ ผู้หญิง ให้แต่งชุดดำล้วน 8. การกินอาหาร ให้ใช้ช้อนส้อมแทนการใช้มือเปิบ 9. ห้ามกินหมากโดยเด็ดขาด 10. ประกาศงดใช้พยัญชนะ 13 ตัว ได้แก่ ฃ ฅ ฒ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฌ ศ ษ ฬ ตัดสระออก 5 ตัว ได้แก่ ฤ ฤา ฦ ฦา ใ แต่ในสมัย นายควง อภัยวงศ์เป็นนายกรัฐมนตรีต่อจากจอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็นำกลับมาใช้ใหม่ 11. ให้ใช้คำว่า ฉัน,เรา,เขา,ท่าน,มัน ใช้คำรับและปฏิเสธว่า จ้ะ,ค่ะ,ครับ,ไม่ 12. ให้ใช้คำว่า “สวัสดี” ในโอกาสที่พบกัน 13. ยกเลิกบรรดาศักดิ์ เช่น เจ้าพระยา พระยา พระ หลวง ขุน ให้ใช้ชื่อและนามสกุลแทน 14. การตั้งชื่อบุคคลต้องให้เหมาะสมกับเพศและมีความยาวไม่เกิน 3 พยางค์ 15. ตั้งกระทรวงวัฒนธรรม เมื่อ พ.ศ.2495 เพื่อส่งเสริมงานด้านวัฒนธรรม ภายหลังถูกยุบรวมกับกระทรวงศึกษาธิการ การฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณี (พ.ศ.2501-2506)สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี 1. พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา จัดให้มีพิธีเสด็จพระราชดำเนินตรวจพลสวนสนามของหน่วยทหารรักษาพระองค์ มีการตกแต่งโคมไฟและประดับธงชาติตามสถานที่ราชการ บ้านเรือน ห้างร้าน เพื่อถวายพระเกียรติ 2. ประกาศยกเลิกวันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันชาติ และกำหนดวันชาติใหม่ คือ วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษา ใช้มาจนถึงปัจจุบัน 3. ฟื้นฟูพระราชพิธีมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ 4. ฟื้นฟูพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินทอดผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค 5. ฟื้นฟูพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค การฟื้นฟูพระราชพิธีที่สำคัญ สมัยจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี 1. ฟื้นฟูพระราชพิธีรัชดาภิเษก ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติครบ 25 ปี ซึ่งรัชกาลที่ 5 เคยกระทำมาแล้ว 2. ฟื้นฟูพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร ในปีพ.ศ.2515 โดยคณะรัฐบาลได้นำความกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ ทรงพระกรุณาสถาปนาเฉลิมพระบรมนามาภิไธย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ ดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร ตามโบราณขัตติยราชประเพณี การศึกษาหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 1. รัชกาลที่ 7 เห็นความสำคัญของการศึกษาโดยไม่ตัดทอนรายจ่ายด้านการศึกษาเลย ถึงแม้จะประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างหนักก็ตาม 2. หลัก 6 ประการของคณะราษฎร ก็มีการกำหนดการพัฒนาการศึกษา โดยริเริ่ม วางแผนการศึกษาแห่งชาติ จัดให้มีการศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร 3. ในปี พ.ศ.2477 จัดตั้ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งที่ 2 ของไทย ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 7 4. สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จัดตั้งสภาการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2503 ขยายการศึกษาภาคบังคับ จาก 4 ปี เป็น 7 ปี 5. ในปี พ.ศ.2520 ลดการศึกษาภาคบังคับ จาก 7 ปี เหลือ 6 ปี (ป.1-ป.6) และเพิ่มระดับมัธยมศึกษาจาก 5 ปี เป็น 6 ปี (ม.1-ม.6) 6. ปัจจุบันปีพ.ศ.2546 การศึกษาภาคบังคับเพิ่มขึ้นจาก 6 ปี เป็น 9 ปี (จบม.3) 7. ในปีพ.ศ.2514 รัฐบาลจัดตั้งมหาวิทยาลัยเปิด คือ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 8. ในปีพ.ศ.2521รัฐบาลจัดตั้งมหาวิทยาลัยเปิดแห่งที่ 2 คือมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 9. ส่งเสริมให้เอกชนจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ปัจจุบันมีจำนวนมากหลายแห่ง เช่น ในภาคเหนือ มีมหาวิทยาลัยพายัพ ที่จังหวัดเชียงใหม่ 10. มหาวิทยาลัยที่ตั้งขึ้นล่าสุดในภาคเหนือที่ จังหวัดเชียงรายคือ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ตั้งขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติแด่ สมเด็จย่า (สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี)


สังคมวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ยุคหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง


สังคม วัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ยุคหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง การพัฒนาขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 มีการเปลี่ยนแปลงที่เด่นชัดในเรื่องการแต่งกาย ผู้ชายเริ่มแต่งกายแบบสากล คือสวมเสื้อนอกกระดุมห้าเม็ด กางเกงขายาวแบบสากล รองเท้าหุ้มส้นและสวมถุงเท้า ยกเลิกการนุ่งผ้าม่วงโจงกระเบนและเสื้อราชปะแตน นโยบายสร้างชาติทางวัฒนธรรมของจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของไทยหลายประการ คือ            
1. การเปลี่ยนชื่อประเทศจาก “สยาม” เป็น “ประเทศไทย” ในปี พ.ศ.2482            
2. ใช้คำว่า “ไทย” กับคนไทย และสัญชาติไทย            
3. กำหนดให้วันที่ 24 มิถุนายน ซึ่งตรงกับวันเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็น “วันชาติไทย” เริ่มในปีพ.ศ.2482            
4. เปลี่ยนเนื้อร้องเพลงชาติและเพลงสรรเสริญพระบารมี ไม่ให้มีคำว่า สยาม            
5. ให้ยืนตรงเคารพธงชาติพร้อมกันทั่วประเทศ ในเวลา 08.00 น. เชิญธงชาติขึ้น และเวลา 18.00 น. ชักธงชาติลง            
6. เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จาก “1 เมษายน” ตามแบบสากล เริ่ม พ.ศ.2484            
7. การแต่งกาย  ข้าราชการให้แต่งเครื่องแบบราษฎรทั่วไป                              
ผู้ชาย ให้สวมเสื้อนอกคอเปิดหรือปิด นุ่งกางเกงขายาว สวมหมวกปีกสวมถุงเท้า รองเท้า                       ผู้หญิง สวมเสื้อนอกคุมไหล่ นุ่งผ้าถุง ห้ามนุ่งโจงกระเบน 
การแต่งกายไว้ทุกข์ในงานศพ 
ผู้ชาย ใช้เสื้อขาว กางเกงขายาวขาว ผ้าผูกคอสีดำ สวมปลอกแขนสีดำ ที่แขนเสื้อด้านซ้าย สวมรองเท้าดำ ถุงเท้าดำ 
ผู้หญิง ให้แต่งชุดดำล้วน            
8. การกินอาหาร ให้ใช้ช้อนส้อมแทนการใช้มือเปิบ            
9. ห้ามกินหมากโดยเด็ดขาด          
10. ประกาศงดใช้พยัญชนะ 13 ตัว ได้แก่ ฃ ฅ ฒ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฌ ศ ษ ฬ ตัดสระออก 5 ตัว ได้แก่ ฤ ฤา ฦ ฦา ใ แต่ในสมัย นายควง อภัยวงศ์เป็นนายกรัฐมนตรีต่อจากจอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็นำกลับมาใช้ใหม่ 11. ให้ใช้คำว่า ฉัน,เรา,เขา,ท่าน,มัน ใช้คำรับและปฏิเสธว่า จ้ะ,ค่ะ,ครับ,ไม่       
12. ให้ใช้คำว่า “สวัสดี” ในโอกาสที่พบกัน          
13. ยกเลิกบรรดาศักดิ์ เช่น เจ้าพระยา พระยา พระ หลวง ขุน ให้ใช้ชื่อและนามสกุลแทน          
14. การตั้งชื่อบุคคลต้องให้เหมาะสมกับเพศและมีความยาวไม่เกิน 3 พยางค์          
15. ตั้งกระทรวงวัฒนธรรม เมื่อ พ.ศ.2495 เพื่อส่งเสริมงานด้านวัฒนธรรม ภายหลังถูกยุบรวมกับกระทรวงศึกษาธิการ การฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณี (พ.ศ.2501-2506)สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี           
1. พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา จัดให้มีพิธีเสด็จพระราชดำเนินตรวจพลสวนสนามของหน่วยทหารรักษาพระองค์ มีการตกแต่งโคมไฟและประดับธงชาติตามสถานที่ราชการ บ้านเรือน ห้างร้าน เพื่อถวายพระเกียรติ           
2. ประกาศยกเลิกวันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันชาติ และกำหนดวันชาติใหม่ คือ วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษา ใช้มาจนถึงปัจจุบัน           
3. ฟื้นฟูพระราชพิธีมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ           
4. ฟื้นฟูพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินทอดผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค           
5. ฟื้นฟูพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค การฟื้นฟูพระราชพิธีที่สำคัญ สมัยจอมพลถนอม  กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี           
1. ฟื้นฟูพระราชพิธีรัชดาภิเษก ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จเถลิงถวัลย์ราช สมบัติครบ 25 ปี ซึ่งรัชกาลที่ 5 เคยกระทำมาแล้ว           
2. ฟื้นฟูพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร ในปีพ.ศ.2515 โดยคณะรัฐบาลได้นำความกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ ทรงพระกรุณาสถาปนาเฉลิมพระบรมนามาภิไธย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ ดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร ตามโบราณขัตติยราชประเพณี การศึกษาหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง          
1. รัชกาลที่ 7 เห็นความสำคัญของการศึกษาโดยไม่ตัดทอนรายจ่ายด้านการศึกษาเลย ถึงแม้จะประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างหนักก็ตาม          
2. หลัก 6 ประการของคณะราษฎร ก็มีการกำหนดการพัฒนาการศึกษา โดยริเริ่ม วางแผนการศึกษาแห่งชาติ จัดให้มีการศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร           
3. ในปี พ.ศ.2477 จัดตั้ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งที่ 2 ของไทย ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 7           
4. สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จัดตั้งสภาการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2503 ขยายการศึกษาภาคบังคับ จาก 4 ปี เป็น 7 ปี           
5. ในปี พ.ศ.2520 ลดการศึกษาภาคบังคับ จาก 7 ปี เหลือ 6 ปี (ป.1-ป.6) และเพิ่มระดับมัธยมศึกษาจาก 5 ปี เป็น 6 ปี (ม.1-ม.6)           
6. ปัจจุบันปีพ.ศ.2546 การศึกษาภาคบังคับเพิ่มขึ้นจาก 6 ปี เป็น 9 ปี (จบม.3)           
7. ในปีพ.ศ.2514 รัฐบาลจัดตั้งมหาวิทยาลัยเปิด คือ มหาวิทยาลัยรามคำแหง           
8. ในปีพ.ศ.2521รัฐบาลจัดตั้งมหาวิทยาลัยเปิดแห่งที่ 2 คือมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช           
9. ส่งเสริมให้เอกชนจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ปัจจุบันมีจำนวนมากหลายแห่ง เช่น ในภาคเหนือ มีมหาวิทยาลัยพายัพ ที่จังหวัดเชียงใหม่         
10. มหาวิทยาลัยที่ตั้งขึ้นล่าสุดในภาคเหนือที่ จังหวัดเชียงรายคือ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ตั้งขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติแด่ สมเด็จย่า (สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี)

สัปดาห์ที่ 18 สังคมวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ยุคปฏิรูปบ้านเมือง


สังคมวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ยุคปฏิรูปบ้านเมือง


สังคม วัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ยุคปฏิรูปบ้านเมือง สังคมวัฒนธรรมไทยสมัย การปรับปรุงทางด้านสังคมในสมัยรัชกาลที่ 4 (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นช่วงเวลาที่ชาวไทยเริ่มมีการปรับตัวทางด้านสังคมและวัฒนธรรมให้เข้ากับ ขนบธรรมเนียมประเพณีทางตะวันตกภายหลังจากที่ไทยทำสนธิสัญญาทางการค้ากับ ชาวตะวันตก อนุญาตให้ไพร่เสียเงินแทนการถูกเกณฑ์แรงงานเข้ารับราชการให้เสรีภาพแก่สตรี ที่บรรลุนิติภาวะในการเลือกคู่ครองโดยพ่อแม่จะบังคับไม่ได้ห้ามพ่อแม่ขาย บุตรเป็นทาสห้ามสามีขายภรรยาเป็นทาสโดยเจ้าตัวไม่สมัครใจให้นางแอนนา เลียวโนเวนส์ ชาวอังกฤษ ไปสอนภาษาอังกฤษให้กับพระราชโอรสและธิดาโปรดให้สตรีคณะมิชชันนารีผู้สอน ศาสนาคริสต์เข้าไปสอนภาษาอังกฤษให้สตรีในราชสำนัก     
1. ประกาศให้ข้าราชการสวมเสื้อเวลาเข้าเฝ้า     
2. โปรดให้สร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ขึ้นเพื่อเป็นของที่พระมหากษัตริย์พระราช ทาน เป็นบำเหน็จรางวัลแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการไทย และชาวต่างประเทศ      
3. ทรงเปลี่ยนแปลงพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา โดยพระองค์ทรงร่วมเสวยด้วย      
4. ฟื้นฟูประเพณีการตีกลองร้องฎีกา เพื่อให้ทราบถึงทุกข์สุขของราษฎรโดยจะเสด็จ ออกมารับฎีกาด้วยพระองค์เอง ทุกวันโกณ เดือนละ 4 ครั้ง      
5. ให้เสรีภาพแก่ประชาชนในการเลือกนับถือศาสนา     
6. ให้เสรีภาพแก่ประชาชนในการเลือกประกอบอาชีพ      
7. กำหนดให้ วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม เป็นวัดประจำรัชกาล ซึ่งรัชกาลที่ 4 ทรงสร้างขึ้นในเขตกรุงเทพมหานคร      
8. รัชกาลที่ 4 ทรงก่อตั้งธรรมยุตินิกาย เมื่อครั้งยังผนวชที่วัดบวรนิเวศน์วิหาร ในสมัยรัชกาลที่ 3 การปรับปรุงด้านสาธารณสุขสมัยรัชกาลที่ 4 ด้านการสุขาภิบาล สมัยรัชกาลที่ 4 เริ่มมีการสุขาภิบาลตามคำแนะนำของบาทหลวงมิชชันนารีบ้างแล้ว แต่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด